เมนู

อธิบายอัพยากตธรรม


บัดนี้ พระองค์ทรงประสงค์จะแสดงจำแนกบทอัพยากตธรรม จึงเริ่ม
คำว่า ธรรมอันเป็นอัพยากตะ เป็นไฉน ? เป็นต้น.
ในพระบาลีนั้น อัพยากตะมี 4 อย่าง คือ วิบาก กิริยา รูป
พระนิพพาน บรรดาอัพยากตะเหล่านั้น พระองค์ตรัสประสงค์เอาอัพยากตวิบาก
แม้ในอัพยากตวิบาก ก็ทรงประสงค์เอากุศลวิบาก แม้ในกุศลวิบากนั้น ก็ทรง
ประสงค์เอากามาวจรวิบาก แม้ในกามาวจรวิบาก ก็ทรงประสงค์เอาอเหตุกะ
แม้ในอเหตุกะ ก็ทรงประสงค์เอาปัญจวิญญาณ (วิญญาณ 5) แม้ในปัญจวิญ-
ญาณนั้นก็ทรงประสงค์เอาจักขุวิญญาณตามลำดับในทวาร แม้จักขุวิญญาณนั้น
เล่า ทรงประสงค์จะแสดงความเกิดขึ้นด้วยอำนาจกรรมปัจจัยที่ไม่ทั่วไปเท่านั้น
เว้นสาธารณปัจจัยทางทวารและอารมณ์เป็นต้น จึงตรัสพระดำรัสว่า เพราะ
กามาวจรกุศลกรรมอันตนทำแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตตฺตา (อันได้ทำไว้แล้ว) ได้แก่
เหตุที่ทำไว้แล้ว. บทว่า อุปฺปจิตตฺตา (ได้สั่งสมไว้แล้ว) ได้แก่ ทำให้เจริญ
ขึ้นแล้ว. บทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ ความว่า ที่ชื่อว่า จักขุวิญญาณ เพราะอรรถว่า
เป็นวิญญาณแห่งจักษุที่มีเหตุสำเร็จแล้ว หรือว่าวิญญาณอันเป็นไปทางจักษุ
หรือว่าเป็นวิญญาณอันอาศัยในจักษุ แม้ในโสตวิญญาณเป็นต้นข้างหน้าก็นัย
นี้แหละ.
ในวิญญาณ 5 เหล่านั้น จักขุวิญญาณมีการรู้รูปอาศัยจักขุประสาทเป็น
ลักษณะ (จกฺขุสนฺนิสฺสิตรูปวิชานนลกฺขณํ) มีอารมณ์เพียงรูปเป็นรส